รู้ไว้..ห่างไกล โรคฝีดาษวานร ฝีดาษลิง
โรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคสัตว์สู่คน (Zoonosis Diseases) ที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เชื้อไวรัสฝีดาษ วานรพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า มักมีรายงานผู้ป่วยในประเทศแถบแอฟริกาตอนกลาง และตะวันตก

สายพันธุ์ของโรคฝีดาษวานร มี 2 สายพันธุ์ ดังนี้
1. สายพันธุ์ Central African มีอาการรุนแรงกว่า อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 10
2. สายพันธุ์ West African มีอาการไม่รุนแรง อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 1
การติดต่อของโรคฝีดาษวานร
1. จากสัตว์สู่คน โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ป่วย หรือการรับประทานสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
2. จากคนสู่คน โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Droplet respiratory particle) ของผู้ป่วยหรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งหรือแผลของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า นอกจากนี้ยังมีการตั้งสมมติฐานว่าโรคฝีดาษวานรอาจสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ แต่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ
8 กลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรง หากติดเชื้อโรคฝีดาษวานร
โรคฝีดาษวานร เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงมีอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อฝีดาษวานร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันตํ่า แบ่งออกเป็น ทั้งหมด 8 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีภูมิคุ้มกันตํ่า
2. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด และโรคมะเร็งอวัยวะต่าง ๆ
3. ผู้ป่วยโรคมะเร็งอวัยวะต่าง ๆ
4. ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
5. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสาร/ยา/รังสี ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
6. ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกอวัยวะต่าง ๆ
7. ผู้ป่วยกลุ่มโรคแพ้ภูมิตนเอง
8. เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 8 ปี
อาการโรคฝีดาษวานร
ระยะฟักตัว 5 – 21 วัน โดยปกติโรคนี้จะแสดงอาการไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง แบ่งเป็น 2 ช่วง
1. ช่วงเริ่มมีอาการ วันที่ 0 – 5 มีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมนํ้าเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และหมดแรง ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่อาการแรกที่มี มักจะเป็นอาการไข้ แต่ระยะออกผื่นมักจะเป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อได้มาก
2. ช่วงออกผื่น ภายใน 1 – 3 วันหลังมีไข้ มีลักษณะการกระจายเริ่มจากบริเวณหน้า และกระจายไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (Centrifugal pattern) ส่วนใหญ่ (95%) ของผู้ ป่วยจะมีพื้นที่หน้าและ 75% มีพื้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ยังสามารถพบผื่นได้ที่บริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ช่องปาก (70%) อวัยวะเพศ (30%) ลักษณะของผื่นจะพัฒนา ไปตามระยะดังต่อไปนี้ ผื่นนูนแดง (Maculopapular) ตุ่มนํ้าใส (Vesicles) ตุ่มหนอง (Pustules) และสะเก็ด (Crust) โดยพบว่าหากผู้ป่วยมีผื่นลักษณะสะเก็ดขึ้นจนแห้ง และร่วงหลุดไป จะไม่มีการแพร่เชื้อได้
โรคฝีดาษลิงมักสามารถหายได้เอง แต่อาจพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้ อาทิ
- เด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่วนบุคคล เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- มีอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อซํ้าซ้อน ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และการติดเชื้อที่กระจกตา อาจนําไปสู่การสูญเสียการมองเห็น

วิธีการป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะ
2. หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด นํ้าเหลืองของสัตว์
4. ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มนํ้าใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือสงสัยว่าติดเชื้อ 6. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษวานรสําหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สามารถรับวัคซีนได้ที่สภากาชาดไทย
การป้องกันเบื้องต้นที่ดีที่สุดคือการใส่หน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ของ KSG ความหนา 3 ชั้น
- ป้องกัน PM 2.5
- ป้องกันแบคทีเรียและไวรัส
- สามารถดูดซับความชื้น ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว
ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://ddc.moph.go.th/monkeypox/index.php